นามสกุลไฟล์ภาพมีกี่ประเภท ใช้งานแตกต่างกันอย่างไร
ปัจจุบันไฟล์รูปภาพเกิดใหม่ขึ้นมา มากมายหลายชนิด แต่ละชนิดก็มีจุดเด่นและจุดด้อยที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับลักษณะงานและเลือกนำไปใช้ให้เหมาะสม บทความนี้จะขอยกตัวอย่างไฟล์ภาพที่เราสามรถจะพบเจอกันได้บ่อยๆ
ไฟล์ภาพคืออะไร?
อธิบายอย่างเข้าใจง่ายๆ ไฟล์ภาพ ก็เหมือนกับภาพถ่ายดิจิทัลที่เราเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือนั่นแหละ แต่อยู่ในรูปแบบของข้อมูลที่คอมพิวเตอร์เข้าใจและสามารถนำไปแสดงผลบนหน้าจอได้

ชนิดของไฟล์ภาพมี 2 ประเภทใหญ่ๆ
1. Raster Images (ภาพแบบ Raster)
Raster Images (ไฟล์ราสเตอร์) คือ รูปภาพที่สร้างขึ้นจากพิกเซล จำนวนมากรวมกันเป็นรูปภาพ ยิ่งภาพมีพิกเซลมากเท่าไร ก็จะยิ่งมีคุณภาพมากเท่านั้น เราสามารถแปลงไฟล์รูปภาพจาก JPEG เป็น PNG ผ่านทางเว็บไวต์ได้ง่ายๆเลยได้ที่ รวมเว็บแปลงไฟล์ภาพ
- ประกอบด้วย Pixel แต่ละ Pixel เก็บข้อมูลของสี
- เหมาะสำหรับภาพถ่าย เน้นความสมจริง
- ปรับขนาดภาพแล้ว อาจเสียความละเอียดภาพแตกเป็น Pixel
ประเภทของไฟล์ราสเตอร์ (Raster Images)
ประเภทไฟล์ | จุดเด่นและจุดด้อย |
JPG/JPEG (.Jpg) เหมาะสำหรับภาพถ่าย เน้นความสมจริง เก็บรายละเอียดแสงเงา | ข้อดี ขนาดไฟล์เล็ก เหมาะกับการใช้งานทั่วไป ข้อเสีย อาจเกิดภาพเบลอ ภาพแตก เมื่อปรับขยายขนาด |
PNG (.png) เหมาะสำหรับภาพที่มีพื้นหลังโปร่งใส โลโก้ กราฟิก เน้นความคมชัด เก็บรายละเอียดสีได้ดี | ข้อดี รองรับพื้นหลังโปร่งใส เก็บรายละเอียดสีได้ดี ข้อเสีย ภาพคมชัด มีขนาดไฟล์ใหญ่กว่า JPG |
BMP (.bmp) เหมาะสำหรับภาพเคลื่อนไหวขนาดเล็ก เน้นความเรียบง่าย แสดงสีได้ 256 สี | ข้อดี ขนาดไฟล์เล็ก เหมาะกับการใช้งานบนเว็บ ข้อเสีย แสดงสีได้จำนวนจำกัด ไม่เหมาะกับภาพที่มีสีสันสดใส |
GIF (.gif) เหมาะสำหรับภาพเคลื่อนไหวขนาดเล็ก เน้นความเรียบง่าย แสดงสีได้ 256 สี | ข้อดี ขนาดไฟล์เล็ก เหมาะกับการใช้งานบนเว็บ ข้อเสีย แสดงสีได้จำนวนจำกัด ไม่เหมาะกับภาพที่มีสีสันสดใส |
2. Vector Images (ภาพแบบ Vector)
ไฟล์เวกเตอร์ คือ รูปแบบไฟล์ภาพที่ใช้สูตรทางคณิตศาสตร์ในการสร้างรูปภาพ แทนการใช้พิกเซลแบบไฟล์ราสเตอร์ (Raster) ข้อดีของไฟล์เวกเตอร์มีอะไรบ้าง ?
- ปรับขนาดได้อย่างไร้ขีดจำกัด ไฟล์เวกเตอร์สามารถปรับขนาดขึ้นหรือลงได้โดยไม่สูญเสียความละเอียด เหมาะสำหรับงานพิมพ์ที่มีขนาดใหญ่หรือเล็ก
- ความคมชัด ไฟล์เวกเตอร์จะมีความคมชัดเสมอ ไม่ว่าจะขยายขนาดเท่าใดก็ตาม
- ขนาดไฟล์ ไฟล์เวกเตอร์มักจะมีขนาดไฟล์เล็กกว่าไฟล์แบบราสเตอร์
- แก้ไขได้ง่าย ไฟล์เวกเตอร์สามารถแก้ไขได้ง่าย เปลี่ยนสี รูปร่าง หรือขนาดได้อย่างสะดวก
ประเภทของไฟล์เวกเตอร์ (Vector Images)
ประเภทไฟล์ | จุดเด่นและจุดด้อย |
AI (.ai) เหมาะสำหรับงานโลโก้ ไอคอน กราฟิก เน้นความคมชัด ปรับขนาดได้โดยไม่เสียความละเอียด | ข้อดี ปรับขนาดได้โดยไม่เสียความละเอียด เหมาะกับงานโลโก้ ข้อเสีย ใช้งานยากกว่า ต้องใช้โปรแกรมเฉพาะเปิดไฟล์ |
EPS (.eps) เหมาะสำหรับงานพิมพ์ กราฟิก รองรับการพิมพ์ความละเอียดสูง | ข้อดี รองรับการพิมพ์ความละเอียดสูง เหมาะกับงานพิมพ์ ข้อเสีย ใช้งานยาก เหมือนกับไฟล์ Ai |
SVG (.svg) เหมาะสำหรับงานเว็บ กราฟิก รองรับการปรับขนาดบนเว็บ | ข้อดี ปรับขนาดได้บนเว็บ เหมาะกับงานกราฟิกบนเว็บ ข้อเสีย รองรับเบราว์เซอร์รุ่นใหม่ๆ เท่านั้น |
ทำไมต้องมีไฟล์ภาพ
เพื่อบันทึกภาพที่เราถ่ายหรือภาพที่เราสร้างสรรค์ขึ้นมา และส่งต่อให้เพื่อนๆ หรือเผยแพร่บนโซเชียลมีเดียนำไปตกแต่งเอกสาร, ทำงานออกแบบกราฟิก หรือใช้ในงานพิมพ์ต่างๆ
3. ไฟล์ภาพอื่นๆ ที่พบเจอบ่อย
ประเภทไฟล์ | จุดเด่นและจุดด้อย |
PSD (.psd) ไฟล์เฉพาะของโปรแกรม Photoshop เก็บเลเยอร์และข้อมูลการแก้ไข | ข้อดี เก็บเลเยอร์และข้อมูลการแก้ไข เหมาะกับงานแก้ไขภาพ ข้อเสีย เปิดใช้งานได้เฉพาะกับโปรแกรม Photoshop หรือเว็บต่างๆที่รองรับ |
TIFF (.tiff) เหมาะสำหรับงานพิมพ์ เก็บรายละเอียดได้ดี รองรับการแก้ไข | ข้อดี เก็บรายละเอียดได้ดี รองรับการแก้ไข เหมาะกับงานพิมพ์ ข้อเสีย ขนาดไฟล์ใหญ่ อาจใช้งานยาก |
WEBP (.webp) ไฟล์ภาพที่เกิดจากการบีบอัดไฟล์ JPEG และ PNG เข้าด้วยกัน ทำให้ไฟล์ WEBP มีไฟล์ขนาดเล็ก แต่ยังคงความคมชัดของภาพไว้ได้ดี | ข้อดี ขนาดไฟล์เล็ก ช่วยให้เว็บไซต์โหลดได้เร็วขึ้น ประหยัดพื้นที่ ข้อเสีย บางโปรแกรมยังไม่รองรับการแก้ไขรูปภาพ และบางโปรแกรมไม่สามารถเปิดไฟล์ WEBP ได้ |
RAW (.raw) ไฟล์ภาพดิบที่บันทึกข้อมูลดิบจากเซนเซอร์ของกล้องดิจิทัล โดยไม่ผ่านการประมวลผลใด ๆ จากกล้อง | ข้อดี เก็บข้อมูลแสง สี รายละเอียด ทั้งหมดที่เซนเซอร์รับได้ สามารถปรับแต่งแก้ไขภาพได้อย่างอิสระ มากกว่าไฟล์ JPEG หรือ PNG ข้อเสีย มีขนาดไฟล์ที่ใหญ่ และต้องใช้โปรแกรมเฉพาะในการเปิดและแก้ไข เช่น Adobe Lightroom |
PDF (.pdf) ไฟล์เอกสารที่สะดวกต่อการใช้งาน เปิดบนอุปกรณ์ต่างๆ โดยไม่ต้องกังวลเรื่องรูปแบบตัวอักษร รูปภาพ หรือเค้าโครงเอกสารจะผิดเพี้ยน | ข้อดี รักษาเค้าโครงตัวอักษร รูปภาพ รูปแบบ และเนื้อหาต่างๆ จะคงเดิม ข้อเสีย แก้ไขยาก ไฟล์ PDF ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อแก้ไขเนื้อหาโดยตรง |
สรุปง่ายๆ
ไฟล์ภาพคือข้อมูลดิจิทัลที่เก็บภาพไว้ และมีหลายประเภทให้เลือกใช้ตามความเหมาะสมของงานนั้นๆ
